Menu

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

อำเภอนางรอง

อำเภอนางรอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอนางรอง
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอนางรอง
เมืองโบราณนานเนา มะพร้าวเผาน้ำตาลหวาน
ศาลหลักเมืองศักดิ์สิทธิ์ เศรษฐกิจก้าวหน้า
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอนางรอง
อักษรโรมัน Amphoe Nang Rong
จังหวัด บุรีรัมย์
รหัสทางภูมิศาสตร์ 3104
รหัสไปรษณีย์ 31110
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 914.0 ตร.กม.
ประชากร 112,198 คน (พ.ศ. 2556)
ความหนาแน่น 122.75 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอนางรอง ถนนสืบสหการ ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110
พิกัด 14°37′42″N 102°47′36″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 4463 1377, 0 4463 1499
หมายเลขโทรสาร 0 4463 1377, 0 4463 1499

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอนางรอง
อำเภอนางรอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอนางรองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์

สมัยขอมเรือง อำนาจ เมืองนางรองหรือแคว้นพนมโรงเป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ขอมได้ปกครองดินแดงส่วนนี้เป็นเวลานาน ได้พบซากเมืองโบราณที่แสดงว่าขอมมีอำนาจแถบนี้เป็นระยะ ๆ จากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ เทวรูปต่าง ๆ และหม้อน้ำดินเผาโบราณแบบขอม เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงแล้ว มอญก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดชนชาติใหม่ขึ้นคือ ขอม มอญ เป็น เข-มอญ หรือเขมร ซึ่งก็คือขอมนั่นเองแต่มีเชื้อผสมระหว่างมอญกับขอม[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเมื่อมอญเสื่อมอำนาจลง ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ต่อไป การแผ่อาณาเขตของไทยในดินแดนแถบนี้ จะเห็นได้ว่ามาจาก 2 ทางคือ ทางนครราชสีมาและทางหลวงพระบาง แต่ไม่มีหลักฐานว่ามาครั้งใด สันนิษฐานว่าไทยคงจะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ในสมัยกรุงสุโขทัยหรือกรุง ศรีอยุธยาตอนต้น หลักฐานพอจะอ้างอิงได้คือ พระพุทธรูปโบราณที่ขุดพบ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี เมื่อไทยได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนนี้ จึงตั้งศูนย์กลางปกครองที่เมืองนางรอง มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาโดยตลอด สมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนแถบเมืองนางรอง เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็นหัวเมืองชั้นเอก
หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แล้ว คนไทยผู้มีอำนาจต่างก็ตั้งตนเป็นก๊กเป็นเหล่า ปกครองตนเองเพื่อจะกอบกู้เอกราช ครั้งแรกเจ้าเมืองนางรองได้เข้าร่วมกับก๊กหมื่นเทพพิพิธเจ้า เมืองพิมาย ต่อมาพระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทำการปราบก๊กต่าง ๆ จนสำเร็จ และได้ยกกองทัพมาปราบก๊กเจ้าเมืองพิมายจนได้รับชัยชนะ เจ้าเมืองนางรองเห็นว่าก๊กเจ้าเมืองพิมายพ่ายแพ้แล้ว จึงได้แยกตัวออกไปร่วมกับเจ้าเมืองจำปาศักดิ์
หลังจากพระเจ้าตากสินได้ปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ จนราบคาบแล้ว จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2332 เจ้าเมืองนางรองได้คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรีมาปราบ พระยานางรองถูกเจ้าเมืองนครราชสีมาจับตัวได้ และถูกประหารชีวิตที่ต้นโพธิ์หน้าสนามโรงเรียนนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์) ในปัจจุบัน เมืองนางรองจึงได้ไปขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา
เมื่อพระยานางรองถูกประหารชีวิตแล้ว ทางเมืองหลวงได้ตั้งนายปิ่นและนายมา บุตรพระยานางรองเป็นเจ้าเมืองนางรองปกครองต่อมาจนถึงพระวิเศษสงคราม (กฤษณ์ บุญญกฤษณ์) ลูกหลานของนายปิ่นได้เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมื่อพระวิเศษสงครามสิ้นอายุแล้วพระนางรองภักดี (สุดใจ บุญญกฤษณ์) ซึ่งเป็นบุตรได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาพระนางรองภักดีถูกจับในข้อหาฆ่าพ่อตา (หลวงอุดมพนาเวช ต้นตระกูลอุดมพงษ์) ทางเมืองนครราชสีมาจึงได้แต่งตั้งหลวงยกบัตร (ต้นตระกูลสุรัสวดี) มาเป็นผู้รั้งเมืองแทน ท่านผู้นี้ได้สร้างที่ทำการและที่พักขึ้น ณ ท้องสนามชุมพลบริเวณโรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร) ในปัจจุบัน เป็นอันว่าเมืองนางรองสมัยมีเจ้าเมืองปกครองก็สิ้นสุดลงเพียงนี้
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ จัดระบบการปกครองใหม่เป็น กระทรวง มณฑล ได้รวมเมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองรัตนบุรี เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "บริเวณนางรอง" มีพระนครภักดี (ทองดี) รักษาการแทนเจ้าเมืองนางรอง ต่อมาอาณาเขตของเมืองนางรองเปลี่ยนแปลงไปคือ เมืองรัตนบุรีไป ขึ้นกับสุรินทร์ เมืองพิมายไปขึ้นกับนครราชสีมา แล้วจึงตั้งเมืองแป๊ะขึ้นเป็นจังหวัดเรียกว่า "จังหวัดบุรีรัมย์" เมืองนางรองจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์

ความเป็นมาของชื่ออำเภอ

เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีประวัติยาวนาน และปรากฏชื่อเมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นชื่ออำเภอจึงสันนิษฐานว่ามีที่มีอย่างไร โดยมีผู้สันนิษฐานไว้ 3 นัย
  1. อาศัยนามจากพนมรุ้ง ซึ่งเลือนมาจากภาษาเขมรว่า "พนมโรง" แปลว่า เขาชัน หรือเขาร่อง เป็นเมืองใหญ่อยู่ใกล้เขาพนมรุ้ง จึงเรียกเมืองโรง ต่อมาเปลี่ยนเป็นนางรอง
  2. ได้นามจากวัดโบราณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงเมือง ชื่อวัดร้อง จึงได้ชื่อว่าเมืองร้องแล้วเปลี่ยนมาเป็นนางรอง หรือผู้สร้างวัดเป็นหญิงชื่อโรง เรียนนางโรง แล้วเปลี่ยนมาเป็นนางรอง
  3. ได้ชื่อมาจากนิทานในโบราณคดี เรื่อง นางอรพิม กล่าวว่า นางอรพิมนั่งร้องไห้จึงได้นามว่านางร้อง แล้วเลื่อนเป็นนางรอง

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอนางรองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 188 หมู่บ้าน ได้แก่
1. นางรอง

(Nang Rong)

14 หมู่บ้าน





9. บ้านสิงห์

(Ban Sing)

14 หมู่บ้าน
2. สะเดา

(Sadao)

17 หมู่บ้าน





10. ลำไทรโยง

(Lam Sai Yong)

14 หมู่บ้าน
3. ชุมแสง

(Chum Saeng)

14 หมู่บ้าน





11. ทรัพย์พระยา

(Sap Phraya)

13 หมู่บ้าน
4. หนองโบสถ์

(Nong Bot)

14 หมู่บ้าน





12. หนองยายพิมพ์

(Nong Yai Phim)

10 หมู่บ้าน
5. หนองกง

(Nong Kong)

11 หมู่บ้าน





13. หัวถนน

(Hua Thanon)

11 หมู่บ้าน
6. ถนนหัก

(Thanon Hak)

13 หมู่บ้าน





14. ทุ่งแสงทอง

(Thung Saeng Thong)

7 หมู่บ้าน
7. หนองไทร

(Nong Sai)

14 หมู่บ้าน





15. หนองโสน

(Nong Sano)

12 หมู่บ้าน
8. ก้านเหลือง

(Kan Lueang)

10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอนางรองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลเมืองนางรอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนางรองและตำบลถนนหัก
  • เทศบาลตำบลทุ่งแสงทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งแสงทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางรอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองนางรอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโบสถ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนหัก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองนางรอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไทรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลก้านเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก้านเหลืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทรโยงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์พระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรัพย์พระยาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโสนทั้งตำบล

อ้างอิง

  • ผศ.ดร.สรเชต วรคามวิชัย และคณะ. บุรีรัมย์ ภูมิหลังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที.เค.พริ้นติ้ง จำกัด, 2555.
  • เมืองนางรอง

ตำนานเมืองนางรอง

วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องเมืองนางรอง  มีการเล่าสืบต่อกันมาหลายสำนวน  แต่ในที่นี้จะนำเสนอเพียง 2 สำนวน ดังนี้
                สำนวนที่ 1 นางอรพิมพ์หนีท้าวพรหมทัตเจ้าเมืองพิมายมากับท้าวปาจิต  โอรสเจ้าเมืองนครธม  นางอรพิมพ์นั่งร้องไห้เพราะท้าวปาจิตต์ถูกงูกัดตายที่นี่  เลยเรียกเมืองนี้ว่า นางร้อง  แล้วเพี้ยนมาเป็น นางรอง
                สำนวนที่ 2 เล่าขานกันว่า สมัยของพระเจ้าชัยวรมันแห่งนครธม  พระองค์มีพระราชโอรสองค์หนึ่งนาม เจ้าชายปาจิตต์  เมื่ออายุครบ 18 ชันษา โหรได้ทำนายไว้ว่าหญิงที่จะมาเป็นพระชายาของเข้าชายยังไม่ถือกำเนิด  และอยู่ห่างจากนครธมมาก  บิดามารดาของหญิงผู้นั้นเป็นคนธรรมดา  ทำไร่อยู่ที่ภูเขาแห่งหนึ่ง  สันนิษฐานว่าเป็นเขาไปรบัดหรือเขาพนมรุ้ง  เวลานี้จวนถือกำเนิดจากครรภ์มารดาแล้ว  ควรจะให้มีผู้พิทักษ์รักษาความปลอดภัย
เจ้าชายปาจิตต์เชื่อในคำทำนาย นั้นจึงออกตามหา  โหรกราบทูลเพิ่มเติมว่า  บิดามารดาของหญิงผู้นั้นมีอายุเกินหกสิบปีแล้ว  มารดาของหญิงนั้นไม่ว่าจะย่างเท้าไปทิศไหนก็จะมีคนกั้นร่ม หรือสัปทนให้เสมอ  แต่จะมีเพียงท้าวปาจิตต์เท่านั้นที่แลเห็นนาง  ที่อยู่ของหญิงผู้นี้อยู่ทางทิศพายัพของนครธม  ต้องเดินด้วยเท้าหลายวันจึงจะถึง  เมื่อเจ้าชายเดินทางมาทิศตะวันตกได้พบม้าลักษณะงามตัวหนึ่ง (แซะลออ เป็นภาษาเขมร แปลว่า ม้างาม)  ครั้นถึงเมืองนางรองที่บ้านหินโคน สืบเสาะได้ความว่าที่เขาพนมรุ้งมีคนทำไร่ และมีลักษณะดังคำทำนายอาศัยอยู่จริง  จึงได้เดินทางไปและแจ้งให้บิดามารดาของนางทราบโดยละเอียด
ต่อมาเจ้าชายได้แจ้งเรื่องไปยัง พระราชบิดาที่นครธม  ให้เกณฑ์ผู้คนตัดถนนฝังหลักเขตจากเขาพนมรุ้งไปถึงนครธม (ดังปรากฏหลักหินมาถึงทุกวันนี้ที่บ้านจะบวก  ต.นางรอง 1 หลัก  บ้านหินโคนน้อย 1 หลัก  และที่บ้านหินโคนดง 1 หลัก รวม 3 หลัก  หลักหินที่ฝังไว้นี้สันนิษฐานว่าคงฝังเป็นระยะทาง 400 เส้น ต่อ 1 หลัก  ทางหรือถนนที่สร้างขึ้นไว้นั้น  น่าจะเป็นทางเดินช่องแซะละออทุกวันนี้  แต่เพี้ยนมาเป็นช่องสายออหรือช่องกุ่ม)
หลังจากหญิงชาวไร่คลอดบุตรหญิง ออกมาจนมีอายุครบ 16 ปี  มีรูปโฉมงดงามมาก ชื่อ อรพิมพ์  เจ้าชายหลงใหลรักใคร่ในตัวนางมากจึงเตรียมที่จะอภิเษกตามราชประเพณี
กล่าวถึงอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองพิมาย  ผู้ครองนคร คือ ท้าวพรหมทัต  ครองเมืองหน้าด่านดูแลต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้านครธม (สันนิษฐานว่าเมืองพิมายเดิมน่าจะเรียกว่าพี่มา  สาเหตุมาจากนางอรพิมพ์ เมื่อพบกับเจ้าชายปาจิตต์ก็อุทานออกมาว่า พี่มา  เมื่อนานเข้าก็เพี้ยนเป็นพิมาย จนทุกวันนี้)  ท้าวพรหมทัตมีความร้อนรุ่นใจใคร่ออกไปเที่ยวป่า  รอนแรมมาจนถึงพนมรุ้ง  ตั้งค่ายพักแรมที่ริมสระน้ำใหญ่เรียกว่า สระเพลิง (อาจเป็นทะลเมืองต่ำ  บ้านโคกเมือง อ.ประโคนชัย ในปัจจุบัน)  อยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทหิน  เมื่อได้ขึ้นไปบนปราสาทก็พบหญิงสาวโฉมงาม  จึงอยากได้นางไปเชยชม  จึงได้ให้ทหารของตนฉุดคร่านางจากบิดามารดาและทหารของเจ้าชายปาจิตต์จน สำเร็จ  ท้าวพรหมทัตต์นำตัวนางอรพิมพ์ไปยังเมืองพิมายโดยไม่รู้ว่านางเป็นคู่หมั้น ของท้าวปาจิตต์  ระหว่างที่เดินทางมาถึงบ้านจะบวก นางอรพิมพ์ได้ขอร้องให้ท้าวพรหมทัตหยุดพักการเดินทาง เพื่อหาโอกาสส่งข่าวให้เจ้าชายปาจิตต์ทราบ  แต่ท้าวพรหมทัตไม่ยอม  ครั้นเดินทางมาถึงลำน้ำทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองนางรอง  นางอรพิมพ์ได้ลงจากช้างและนั่งร้องไห้ที่ริมฝั่งน้ำ  ครวญถึงบิดามารดาและเจ้าชายปาจิตต์  ต่อมาได้เรียกลำน้ำนี้ว่า ลำน้ำนางร้อง  และเพี้ยนมาเป็นลำน้ำนางรอง  ภายหลังจากหยุดพักพอสมควรแล้วก็เดินทางต่อจนถึงเมืองพิมายโดยที่มีทหารของ เจ้าชายปาจิตต์สะกดรอยตามไปจำนวนหนึ่งและอยู่ปะปนไปกับผู้คนในเมืองเพื่อหา โอกาสช่วยเหลือและรอเจ้าชายยกทัพมาสมทบ
ฝ่ายเจ้าชายปาจิตต์ยกทัพมาตาม เส้นทางเดิม โดยไม่หยุดพักทั้งกลางวันและกลางคืน ผ่านบ้านแซะ (เมืองครบุรี)  สระประทีป  และมาสว่างที่บ้านเสิงสาง (อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ปัจจุบัน)  แล้วเดินทางมาถึงลำน้ำลงเรือที่บ้านวังบุกระถิน (ลำปลายมาศในปัจจุบัน)  เห็นข้าราชบริพารของท้าวพรหมทัตเตรียมเรือขันหมากไว้สองลำ  เห็นดังนั้นจึงโกรธแค้นท้าวพรหมทัตมาก จึงจมเรือขันหมากเสียในลำนำนี้ (ลำน้ำนี้จึงได้ชื่อว่า ลำปลายมาศ เพราะมีทองขันหมากจมอยู่มากมาย)  และเปลี่ยนจากการไปทางเรือไปทางรถม้าแทน  เมื่อถึงบ้านกงรถก็ทิ้งรถไว้  ที่นี่จึงได้เรียกว่า บ้านกงรถ มาจนทุกวันนี้ (บ้านกงรถ อยู่ในเขต ต.กงรถ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา)  จากนั้นเจ้าชายได้ปลอมตัวเป็นคนสามัญ เดินทางต่อไปยังเมืองพิมายตามหานางอรพิมพ์จนพบ  เมื่อพบกันครั้งแรกนางอรพิมพ์ได้อุทานด้วยความยินดีว่า พี่มาแล้ว ถึง 3 ครั้ง  หลังจากนั้นเจ้าชายจึงได้ฆ่าท้าวพรหมทัต  และนำตัวนาวอรพิมพ์กลับเมืองนครธม  โดยเดินทางผ่านทุ่งกระเต็นในปัจจุบัน  ซึ่งห่างจากเมืองพิมายมาไกลมาแล้ว  และได้มีการเลี้ยงฉลองเต้นรำกันที่ทุ่งแห่งนี้  จนเรียกขานว่า ทุ่งกระเต้น ต่อมาเพี้ยนเป็น ทุ่งกระเต็น   รุ่งขี้นได้เดินทางผ่านเส้นทางเดิมและวกมาทางทิศตะวันออกจนถึงทุ่งแห่งหนึ่ง ก็หยุดพักผ่อน  ซึ่งทุ่งนี้ต่อมาเรียกว่า ทุ่งอรพิมพ์  ซึ่งอยู่ใกล้บ้านหนองทองลิ่ม  ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 100 เส้น  จากนั้นออกเดินทางต่อไปถึงบ้านแซะละออเข้าสู่นครธม และได้อภิเษกกับนางอรพิมพ์เป็นกษัตริย์กับมเหสีในที่สุด (คณะกรรมฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 121-123)   **มีปราสาทชื่อ ปราสาทประจิต เป็นปราสาทร้างยังไม่ขึ้นทะเบียน อยู่บ้านหนองเสม็ด อ.นางรองด้วย

Ancient Khmer civilization. Prasat Phanom Rung-ปราสาทหินพนมรุ้ง แหล่งอารยธรรมขอมโบราณ

Ancient Khmer civilization. Prasat Phanom Rung
ปราสาทหินพนมรุ้ง แหล่งอารยธรรมขอมโบราณ

Phanom Rung historical park
(Information :Description=th:ปราสาทพนมรุ้ง
Source=Originally from [http://th.wikipedia.org%20th.wikipedia/]; description page is/was [http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=Image%3APlace_PhnomrungPrasat.jpg here].
Date=20)

From Wikipedia, the free encyclopedia


องค์ประธาน

การเดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง


ในการเดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถเลือกเดินทางได้ 2 เส้นทางออกจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) เป็นระยะทางประมาณ 50  กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึง
หมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) เป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ซึ่งใช้เวลา เดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ถ้าเดินทางโดยใช้บริการรถโดยสารจากขนส่งบุรีรัมย์ ก็ให้ขึ้นรถโดยสารสายบุรีรัมย์-จันทบุรี พอถึงที่ หมู่บ้านตะโก แล้วจึงลงจากรถ จากนั้นจะมีรถสองแถววิ่งไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือไม่ก็นั่ง วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็ได้

Compare hotel prices and find the best deal - hotelscombined.com
อ้างอิง

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทหินเมืองต่ำ [Muangtam Sanctuary]

Compare hotel prices and find the best deal - hotelscombined.com

อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทหินเมืองต่ำ [Muangtam Sanctuary]




ปราสาท เมืองต่ำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลจรเข้มาก  อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากปราสาทพนมรุ้งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๘กิโลเมตร ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูสันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้น เพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชนจากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่หลายชุมชน  เช่นชุมชนบ้านโคกเมือง โคกยายคาน โคกสลองตอง เป็นต้น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้แก่  เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ภาชนะดินเผาเนื้อดินเครื่องถ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว  เป็นจำนวนมาก   





หลัก ฐานเหล่านี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้าง ปราสาทซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบคลัง และแบบบาปวน  กำหนดอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่   ๑๖ หรือราว ๑,๐๐๐  ปีมาแล้วตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรักผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือนจังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำสู่ปราสาทพนมรุ้งไปยังปราสาทพิมายจังหวัดนครราชสีมาอาจกล่าว ได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงบน เส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย




แผนผังปราสาทเมืองต่ำ
ประกอบด้วยอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆคือ
1. กำแพงแก้วและซุ้มประตู
2. ลานปราสาทและสระน้ำ
3.  ระเบียงคดและซุ้มประตู
4. กลุ่มปราสาทอิฐ
5. บรรณาลัย









ภาพแสดงแผนผังปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทหินเมืองต่ำ เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานประวัติศาสตร์ พนมรุ้ง โทร. 0 4463 1746 
ที่มา จากเว็บ ปราสาทหินเมืองต่ำ
 

Phimai Historical Park อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

Compare hotel prices and find the best deal - hotelscombined.com

Phimai Historical Park

 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาลาทางเดินและองค์ประธาน
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม

ประวัติ


ผังอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร หรือ กัมพูชา มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน

โบราณสถาน

ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นๆที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้

สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

พลับพลา

ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียกกันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่างๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า "คลังเงิน"

สะพานนาคราช


สะพานนาคราช ปราสาทหินพิมาย
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตาม คติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินีถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน

ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว

Inner of Phimai 2.JPG
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า

ชาลาทางเดิน

ก่อสร้างด้วยหินทราย เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูด้านทิศใต้ของระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธาน โดยทำทางเดินยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน ผังทำเป็นรูปกากบาท จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้

ซุ้มประตูและระเบียงคด

เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ซุ้มประตูด้านทิศใต้ บริเวณกรอบประตูพบจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. 1651-1655 กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ การสร้างเมือง ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูง และพระนางมหากษัตริย์คือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่1

ปราสาทประธาน


ประสาทประธาน
เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศรรตวรรษที่ 16-17 ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่นๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑป และ เรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร

ปรางค์หินแดง


ปรางค์ประธาน
สร้างขึ้นราวปลายพุทธศรรตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอนกรรณะล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบเขมรประดับอยู่

หอพราหมณ์

เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยมากกว่า

ปรางค์พรหมทัต

ลักษณะของปรางค์องค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันออกเฉียง ใต้ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประตูทำเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ ภายในองค์ปรางค์พบประติมากรรมสำคัญ 2 ชิ้น คือ ประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ สลักด้วยหินทราย สันนิษฐานว่าเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ส่วนอีกรูปเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทราย ส่วนศีรษะและแขนหักหายไป เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางชัยราขเทวีมเหสี ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย

บรรณาลัย

ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาดเดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา

รู้ก่อนเดินทาง
  • อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย โทร. 044 471 568 เปิดเวลา 07.30 –18.00 น.
  • ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท

แหล่งข้อมูลอื่น